⁂ แก้วเกษตร ประชาสัมพันธ์ ค่ะ ⁂


การปลูกพืชตามฤดูกาล ในประเทศไทย (Thai Crop Calendar)

vegetableประเทศไทย เป็น ประเทศที่มีสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่าง อย่างเห็นได้ชัด ทั้งสามฤดู ได้แก่ ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว และมีสภาพ ดิน ฟ้า อากาศที่เหมาะสมในการปลูกพืช ผัก ได้ตลอดทั้งปี โดยพืชบางชนิดเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี และให้ผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ






เดือนมกราคมเดือนกุมภาพันธ์เดือนมีนาคมเดือนเมษายน
เดือนพฤษภาคมเดือนมิถุนายนเดือนกรกฏาคมเดือนสิงหาคม
เดือนกันยายนเดือนตุลาคมเดือนพฤศจิกายนเดือนธันวาคม


การเลือกปลูกผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล มีเกณฑ์แนะนำดังนี้

ช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ควรเลือกปลูก หอมแบ่ง กุยช่าย กระเทียมหัว ขึ้นฉ่าย กะหล่ำปลี ผักกาดขาวปลีห่อ กะหล่ำปม กะหล่ำดอก มะเขือเทศ และถั่วแระญี่ปุ่น
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนพฤศจิกายน
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนธันวาคม
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนมกราคม

ช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน ควรปลูก ผักจำพวกผักชี หอม ผักบุ้งจีน ผักกาดหัว ถั่วฝักยาว แตงกวา แตงไทย มะระ ผักกาดเขียวปลี ผักคะน้า ผักกาดเขียวกวางตุ้ง และ ผักกาดขาว
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนกุุมภาพันธ์
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนมีนาคม
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนเมษายน

ช่วงต้นฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ควรเลือกปลูก ผักคะน้า กุยช่าย บวบเหลี่ยม กวางตุ้งไต้หวัน ข้าวโพดหวาน และ หอมแดง
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนพฤษภาคม
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนมิถุนายน
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนกรกฎาคม

ช่วงปลายฤดูฝน ฝนตกมาก ระหว่างเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ควรปลูกจำพวกผักชีลาว ผักโขม กุยช่าย ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า หอมแบ่ง มันแกว มันเทศ มะเขือเปราะ มะเขือยาว ผักกาดหอม ผักบุ้งจีน พริกชี้ฟ้าและพริกขี้หนู
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนสิงหาคม
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนกันยายน
พืชที่เหมาะสมในการปลูกเดือนตุลาคม

พืชที่สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ได้แก่ ผักกาดเขียวกวางตุ้ง ผักกาดหอม ตั้งโอ๋ ผักบุ้งจีน แตงโม ผักชี หอมแบ่ง ถั่วฝักยาว มะระ บวบ ฟัก


การรับประทานพืช ผัก ตามฤดูกาล

vegetableในการเลือกรับประทานพืช ผักให้เหมาะสมกับฤดูกาล ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ได้ีรับประทานผักสด ใหม่ และเป็นการรักษาสุขภาพ ที่มีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอากาศได้อีกด้วย โดย พืชผักที่มีผลผลิตมากในแต่ละฤดูกาล มีดังนี้

ผัก ผลไม้ ที่มีผลผลิตมากในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง เดือนกุมภาพันธ์
ได้แก่ ฝรั่ง ลูกตาม ส้มเกลี้ยง ส้มเขียวหวาน ลางสาด แตงโม แตงไทย พุทรา มะขาม มะระ สะเดา ขิง ถั่วลันเตา ใบสะระแหน่ มะเขือเทศ ผักโขม ใบตั้งโอ๋ ผักกาดเขียว ผักกาดขาวปลี ดอกกระหล่ำ มะนาว (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์)

ผัก ผลไม้ ที่มีผลผลิตมากในช่วงเดือน มีนาคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ได้แก่ มะม่วง มังคุด พุทรา ฝรั่ง เงาะ ลูกตาล มะปราง ลางสาด กระท้อน ทับทิม ลำไย สับปะรด ขิง เห็ด สะตอ

ผัก ผลไม้ ที่มีมากใน ช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม
ได้แก่ มะ่ม่วง(น้อยลง) มังคุด ชมพู่ มะปราง เงาะ ลูกตาล ละมุด ลำไย ทับทิม สละ กระท้อน สับปะรด ระกำ ลางสาด

ผัก ผลไม้ ที่มีมากตลอดทั้งปี ได้แก่ มะละกอ กล้วย ส้มโอ ขนุน ลูกตาล มะพร้าว แตงกวา ฟักเขียว ผักบุ้ง ผักคะน้า ต้นหอม ผักกาดหอม ถั่วแขก กระถิน ใบกะเพรา ใบมะกรูด น้ำเต้า พริก มันเทศ ผักชี หัวฝักกาด คื่นฉ่าย ฟักทอง ดอกกุยช่าย หัวปลี ใบโหระพา ใบสะระแหน่ ตะไคร้ กระชาย ถั่วงอก มะเขือต่าง ๆ บวบ

การบริโภคผักเป็นอาหารตามฤดูกาลต่าง ๆ ทั้ง 3 ฤดู นั้นสามารถจำแนกได้ดังนี้

ฤดูร้อน ควรบริโภคผักจำพวก แฟง แตง บวบ ตำลึง น้ำเต้า ผักบุ้ง ผักกะเฉด จะช่วยแก้ร้อนในได้

ฤดูฝน ส่วนใหญ่มักจะเป็นไข้หวัด ผู้บริโภคจึงต้องการอาหารรสจัด รสแซบ เผ็ด เปรี้ยว เช่น ต้มยำ พล่า แกงส้ม แกงเลียง ยำต่าง ๆ และลาบ ซึ่งล้วนต้องใช้พืชผักที่เป็นสมุนไพรแก้หวัดได้

ฤดูหนาว มักจะเป็นไข้หัวลม เนื่องจากอากาศมีการเปลี่ยนแปลง จึงควรรับประทานอาหารจำพวกแกงส้มดอกแค ดอกสันตะวา ลวกยอดแค แกงขี้เหล็ก สะเดาน้ำปลาหวาน งาคั่วหรืองาร้อนจะช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่นได้

ที่มา: อัจฉรา สุขสมบูรณ์ : รายงาน,ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองเกษตรสัมพันธ์ กรมส่งเสริมการเกษตร




แหล่งรวมเมล็ดพันธุ์ผักสวนครัวแหล่งรวมเมล็ดพันธุ์ไม้ดอก-ไม้ประดับ


หนังสือเกษตรกรรม ราคาุถูกกว่า
 

ที่ทำการ แก้วเกษตร (ไม่มีหน้าร้าน) : 41/802 อาคารทวีบุญ หมู่ 7 ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120

☼แก้วเกษตร☼ Design by Insight © 2009